IBA.เกษตร

เกษตรพอใจและพอเพียง

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไผ่หลังน้ำท่วม ไปแล้ว 2 เดือน





ไม่ได้เจอกันซะนานครับ  หลังจากน้ำท่วม  ตอนนี้สถานการณ์ พอคลี่คลาย   ก็เลยต่อคอมพิวเตอร์ อัพรูปได้ครับ วันนี้มีรูปต้นไผ่ หลังจากถูกน้ำท่วม ไปแล้ว 2 เดือนมาฝากครับ  ส่วนไผ่ที่ตาย ก็มี ไผ่สีทอง,ไผ่บงหวาน,ไผ่เปาะน่าน,ไผ่ช้างยักษ์น่าน,ไผ่ซางหม่น,ไผ่หกยักษ์,ไผ่หม่าจู,ไผ่ตงศรีปราจีน  ส่วนไผ่ที่รอดตายจาก วิกฤตครั้งนี้  เป็น ไผ่กิมซุ่ง,ไผ่ตงลืมแล้ง,ไผ่ตงอินโด ฯ  ไปดูภาพกันเลยครับ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วม

ช่วงนี้  น้ำท่วม  หลายๆ จังหวัด  ซึ่งสวนไผ่ของผมก็โดนน้ำท่วมด้วยเหมือนกันครับ ระดับน้ำตอนนี้ ก็ไม่มากไม่น้อย แค่กำลังจะติดพื้นชั้น 2 ครับ ส่วน  สวนไผ่  ของผมก็โผล่เหลือยอด อยู่ นิดเดียวเอง  นับจากวันเริ่มปลูก ก็ได้ 5 เดือนครึ่งครับ  จะรอดหรือไม่รอด  ก็จะได้รู้กันชัดๆ ไปเลยครับว่าไผ่พันธุ์นี้จะทนน้ำท่วมอย่างที่พูดกันจริงรึเปล่า รอน้ำลดแล้ว จะมาแจ้งให้ทราบอีกทีนะครับ ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นำเสนอ วิธีกำจัดไรต่างๆ หอยและแมลงหางดีด อีกวิธี

มาแนะนำวิธีกำจัด เจ้าพวกตัวไรต่างๆ,หอย,แมลงหางดีด   อีกวิธีนึง    ในแบบของผม   คือ ใช้กระดาษลังแช่น้ำครับ แต่ต้องแช่ไว้ซัก 1 วัน นะครับ แล้วเอาไปวาง บนหน้าเบดดิ้ง แล้วเจ้าพวกแมลงกับไรและหอยพวกนี้จะเข้ามาเกาะอยู่ใต้กระดาษลัง มากมาย    หลังจากนั้น เราจะเอาไปทิ้ง หรือจะปล่อยไว้ก่อนก็ได้ครับ เพราะ เจ้าพวกนี้จะมาเกาะอยู่ที่กระดาษ ไม่ไปรบกวน ไส้เดือน    แต่ถ้ามีจำนวนมาก ก็เอาไปเขยาะทิ้ง ในกะละมัง(ใส่น้ำนิดหน่อย)  และทำซ้ำ ก็จะทำให้เบาบางลง นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ ไรแดง และการกำจัด ไรแดง

  ไรแดง เป็นสัตว์เล็กๆจำพวกแมงไม่ใช่แมลง(แมลงมีขา 3 คู่ แมงมีขา 4 คู่)ไรเป็นสัตว์เล็กๆที่พบอยู่ทั่วไม่ว่าทุกหน ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นในดินในน้ำ ในเศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ ในอาหารในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บนพืชบนตัว สัตว์และแม้กระทั่งบนร่างกายของมนุษย์   ในบทความนี้ขอพูดถึง ไร ที่อาศัยในดิน ไรเหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซาก อินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่รากพืชสามารถดูดซึมไปใช้ ได้ง่ายขึ้น จนบางครั้งเราสามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความหลากหลาย และปริมาณของไร ที่อาศัย อยู่ในดิน  ดังนั้น  ไรแดง ที่เกิดขึ้นในการ เลี้ยงไส้เดือน  หน้าที่ของมัน ก็คือ ย่อยเศษซาก อินทรีย์วัตถุ ซึ่งรวมถึงไส้เดือน ตัวที่อ่อนแอ และขึ้นมา ตายอยู่บนเบดดิ้ง  ตัวไรแดงนี้ก็ จะทำการย่อยสลาย เช่นกัน (ไม่ใช่ว่าตัวไรแดงนี้กัดไส้เดือนจนตายเพียงแต่ว่าไส้เดือนตายแล้วขึ้นมาอยู่บนเบดดิ้งและตัวไรถึงเข้าไปย่อยสลายซากไส้เดือนนั้น) ส่วนตัวที่แข็งแรง และอยู่ในชั้นดิน ไรก็ไม่สามารถทำอะไรได้   อย่างมากตัวไร นี้ ก็แค่สร้างความรำคาญให้กับผู้เลี้ยงไส้เดือน มากกว่า    ส่วนวิธี กำจัด ให้ใช้ เปลือกแตงโม ทาด้วย นมข้นหวาน  เปลือกแตงโม จะทำหน้าที่ ล่อไรแดง เข้ามา  ส่วนนมข้นหวาน จะทำหน้าที่ ให้ ไร ติดความข้นเหนี่ยวของนม ไปไหนไม่ได้ครับ  ทิ้งไว้ให้มาติดเยอะๆ แล้วค่อยนำไปทิ้ง ครับ   ลองเอาไปใช้ดูนะครับ

เพิ่มมูลวัว ได้เมื่อไหร่

ในรอบการเลี้ยงไส้เดือน คือ 45-60 วัน  แต่ในช่วงระหว่างนั้น  ประมาณ 30 วันไปแล้ว  เบดดิ้งจะเริ่มเป็นมูล บางส่วน  (สังเกตุได้จากมูลไส้เดือนที่ขึ้นมาอยู่บนเบดดิ้ง)  จึงต้องมีการเพิ่มมูลวัว เข้าไปใหม่ เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น และอัตราการขยายพันธุ์ที่ดีขึ้นด้วย  ขั้นตอนการเพิ่มมูลวัว ก็ไม่มีอะไรมากครับ  หมักดินให้ชัวร์ก่อน ฉีดน้ำล้าง ซักที ก่อนเอาืไปใช้  รอให้หมาดหน่อย  แล้วสามารถเอาไปใส่เพิ่มที่เบดดิ้งเก่าได้เลยครับ  พอเพิ่มดินรอบนี้แล้ว  รอบต่อไป ครบ 45-60 วัน ก็เก็บเกี่ยว(Harvest)ได้เลยครับ  ส่วนความสูงของเบดดิ้่งที่ดี  ควรอยู่ ที่ 6 นิ้วครับ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อควรระวังในการปลูกไผ่

หลังจากที่ได้ลงมือปลูกไผ่ไปแล้ว ก็เห็นข้อบกพร่อง บางประการในขั้นตอนการปลูก จึงอยากจะเอามาแบ่งปัน เผื่อ จะเป็นข้อมูลกับผู้ที่กำลังจะลงมือปลูกไผ่  
1.หลุม ปลูกจะต้องไม่ลึก และตื้นจนเกินไป  ถ้าลึก เกินไปจะทำให้หน่อที่จะแทงขึ้นมาใหม่ไม่สามารถแทงขึ้นมาได้ และเน่าไปในที่สุด และถ้าตื้นเกินไปจะทำให้ เวลาไผ่โต แล้วรากมันจะลอยเกินไป มีผลกับการเกิดหน่อ
2.ก่อนลงปลูก  ต้องลองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยคอก และ ฟูราดาน กันปลวก ด้วยในพื้นที่  ที่มีปลวก เยอะ
3.ปลูก เอียง 45 องศา จะแทงหน่อได้ดีและเร็วกว่า ปลูก ตรงๆ
4.ควรมือฟาง หรือเศษวัชพืช  ปิดโคนต้น ไว้ จะทำให้เก็บความชื้นได้ดี
5.ในช่วงการปลูก 2-3 เดือนแรก ควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกสม่ำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ศัตรู ไส้เดือน



เป็นจำพวกแมลง  นอกเหนือจาก พวกจิ้งจก คางคก และมด ต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โคคูน(ถุงไข่ไส้เดือน)

หลังจากปล่อยไส้เดือนเลี้ยงไปได้สัก ระยะหนึ่ง เมื่อไส้เดือนโตเต็มไว แล้ว ใช้เวลา ประมาณ 4-6 เดือน(หลังจากออกจากถุงไข่)ก็จะถึงระยะสืบพันธุ์ สามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้่งปี เมื่อสืบพันธุ์แลกน้ำเชื้อกันเรียบร้อยแล้ว ไส้เดือนก็จะวางไข่(โคคูน) ไส้เืดือนจะวางไข่ได้ประมาณเดือนละ 2 ถุง  และใช้เวลา อีก 30- 45 วัน ไส้เดือนจึงจะฟักออกจากถุงไข่ เป็นไส้เดือนตัวน้อยครับ ....  เอารูปโคคูนมากฝากด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ถางหญ้า ปรับสวนไผ่ ใหม่



ช่วงนี้หน้าฝน ฝนตกบ่อย  สวนไผ่ ก็เริ่มมีหญ้าขึ้นบ้าง พอสมควร   ดูรกทึบไปหมด  จึงต้องมีการถางหญ้าปรับ ทาง สวนไผ่ กันหน่อย  ลงมือครั้งนี้ก็ไม่มีอะไรมาก   นอกจากถางหญ้าที่รก และแย่งอาหารไผ่กิน  แล้วก็โรยด้วยฟางข้าว เพื่อให้เก็บความชุ่มชื้นในดินให้ดียิ่งขึ้น     ครับผม ........

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความชื้น สำคัญไฉน

ความชื้น ในการเลี้ยงไส้เดือน นั้นสำคัญมาก  ถ้าแห้งไป มีผลต่อจำนวนไส้เดือน และมีผลต่อโคคูน(ไข่ไส้เดือน)ทำให้อัตราการเกิดลดน้อยลง  ความชื้นที่ดีในการเลี้ยงไส้เดือน อยู่ที่ 80% ห้ามแฉะ ถ้าแฉะจะทำให้เกิดการเน่าได้ง่ายซึ่ง ทำให้เบดดิ้ง เป็นกรดได้อีกต่อหนึ่ง  ดังนั้นความชื้น ในการเลี้ยงไส้เดือนนั้นต้องให้ความสำคัญ เป็นอันดับต้นๆ เลยละครับ